วันจันทร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ความแตกต่างทางโครงสร้างของภาษาไทยกับภาษาอังกฤษที่มีผลต่อการแปล

ความแตกต่างทางโครงสร้างของภาษาไทยกับภาษาอังกฤษที่มีผลต่อการแปล
คำว่า โครงสร้าง ตรงกับภาษาอังกฤษว่า Structure จากความหมาย สามารถตีความได้ว่า ส่วนประกอบในภาษามีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันและมีกฎหรือระเบียบของความสัมพันธ์ดังกล่าวด้วย ซึ่งโครงสร้างเป็นสิ่งที่สำคัญมากสำหรับการเรียนรู้ภาษาหรือการใช้ภาษา เราพูดเป็นประโยคที่มีใจความสมบูรณ์และสื่อสารกันรู้เรื่องเพราะเรารู้หรือเข้าใจโครงสร้างของภาษา โครงสร้างเป็นสิ่งที่บอกเราว่า เราจะนำคำศัพท์ที่เรารู้มาประกอบกันหรือเรียงกันอย่างไรจึงจะเป็นที่เข้าใจของผู้ที่เราสื่อสารด้วย ในการใช้ภาษาใดก็ตาม ถ้าเราไม่รู้หรือเข้าใจโครงสร้างของภาษานั้น เราจะล้มเหลวในการสื่อสาร คือฟังหรืออ่านไม่เข้าใจ และพูดหรือเขียนให้คนอื่นเข้าใจไม่ได้
ในการแปลระหว่างภาษาไทยกับอังกฤษนั้น ลักษณะทางโครงสร้างที่แตกต่างกันและผู้แปลควรให้ความสนใจเป็นพิเศษมีดังนี้
เรื่องชนิดของคำ (ปัญหาเกิดจากการที่ภาษาหนึ่งมีชนิดของคำบางประเภทแต่อีกภาษาหนึ่งไม่มี ซึ่งภาษาอังกฤษมีตัวกำหนด (determiner), นาม (noun),  กริยา (verb),  คุณศัพท์ (adjective),  วิเศษ (adverb),  บุพบท (preposition) ,  และสันธาน (conjunction), ไม่มีลักษณะนาม (classifier) และ คำลงท้าย (final particle)
ภาษาไทยมีชนิดของคำทุกประเภทเหมือนภาษาอังกฤษ ยกเว้นคุณศัพท์ และมีชนิดที่ไม่มีในภาษาอังกฤษ ได้แก่ ลักษณะนาม และคำลงท้าย

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการแปล

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการแปล
ความสำคัญของการแปล
เนื่องจากในปัจจุบันภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่ใช้ในการเดินทาง การศึกษา ภาษาอังกฤษมีความสำคัญเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ  จากการที่การคมนาคมสื่อสารเจริญรุดหน้าไปมาก คนต่างชาติต่างภาษาในโลกได้มีการติดต่อกันมากขึ้นทุกวัน การแปลจึงทวีความสำคัญมากขึ้นเนื่องจากประเทศไทยมีการติดต่อกับต่างประเทศในวงการต่างๆมากขึ้น
การใช้ภาษาต่างประเทศในหน่วยงานต่างๆที่เพิ่มขึ้นทุกที ปรากฏว่าภาษาอังกฤษมีปริมาณการใช้มากที่สุด ทั้งนี้เพราะ
            1.หน่วยงานต่างๆได้ขยายปริมาณ
            2.มีการติดต่อกับชาวต่างประเทศเพิ่มขึ้น
            3.มีตำรา เอกสารภาษาอังกฤษซึ่งเป็นแหล่งวิทยาการหลายสาขา
การแปลในประเทศไทย
การแปลในประเทศไทยเริ่มมาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ส่งโกษาปานไปเฝ้าพระเจ้าหลุยแห่งประเทศฝรั่งเศส จึงมีการฝึกนักแปลประจำราชสำนัก มีการแปลเอกสารต่างๆในการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
การแปลทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ผู้แปลจะต้องเป็นกลุ่มของผู้เชี่ยวชาญทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และมีนักภาษาด้วย เพื่อป้องกันการใช้ภาษาวิบัติ และอีกประการหนึ่งการแปลมีปัญหาอยู่มากเนื่องจากขาดความรู้เรื่องพื้นฐานทางวัฒนธรรม (Cultural   background) ผู้แปลจะต้องติดตามวิชาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีตลอดเวลา ศัพท์บางคำ หาคำเทียบในภาษาไทยไม่ได้จริงๆ
การสอนแปลในระดับมหาวิทยาลัย
การสอนแปลในระดับมหาวิทยาลัยเป็นการสอนไวยากรณ์ และโครงสร้างของภาษา การใช้ภาษา รวมทั้งการอ่านเพื่อความเข้าใจ
การแปลคืออะไร
การแปลคือ การถ่ายทอดความคิดจากภาษาหนึ่งไปยังอีกภาษาหนึ่ง
คุณสมบัติของผู้แปล
            1.รู้ลึกซึ้งในเรื่องภาษา
            2.รักการอ่าน ค้นคว้า
            3.มีความอดทน มีความพยายามที่จะปรับปรุงแก้ไข
           4.มีความรับผิดชอบ รู้จักใช้ความคิดของตนเอง
วัตถุประสงค์ของการสอนแปล
           เป้าหมายที่สำคัญของการสอนแปล คือ การฝึกเพื่อผลิตนักแปลที่มีคุณภาพให้ออกไปรับใช้สังคมในด้านต่างๆ