วันจันทร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ความแตกต่างทางโครงสร้างของภาษาไทยกับภาษาอังกฤษที่มีผลต่อการแปล

ความแตกต่างทางโครงสร้างของภาษาไทยกับภาษาอังกฤษที่มีผลต่อการแปล
คำว่า โครงสร้าง ตรงกับภาษาอังกฤษว่า Structure จากความหมาย สามารถตีความได้ว่า ส่วนประกอบในภาษามีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันและมีกฎหรือระเบียบของความสัมพันธ์ดังกล่าวด้วย ซึ่งโครงสร้างเป็นสิ่งที่สำคัญมากสำหรับการเรียนรู้ภาษาหรือการใช้ภาษา เราพูดเป็นประโยคที่มีใจความสมบูรณ์และสื่อสารกันรู้เรื่องเพราะเรารู้หรือเข้าใจโครงสร้างของภาษา โครงสร้างเป็นสิ่งที่บอกเราว่า เราจะนำคำศัพท์ที่เรารู้มาประกอบกันหรือเรียงกันอย่างไรจึงจะเป็นที่เข้าใจของผู้ที่เราสื่อสารด้วย ในการใช้ภาษาใดก็ตาม ถ้าเราไม่รู้หรือเข้าใจโครงสร้างของภาษานั้น เราจะล้มเหลวในการสื่อสาร คือฟังหรืออ่านไม่เข้าใจ และพูดหรือเขียนให้คนอื่นเข้าใจไม่ได้
ในการแปลระหว่างภาษาไทยกับอังกฤษนั้น ลักษณะทางโครงสร้างที่แตกต่างกันและผู้แปลควรให้ความสนใจเป็นพิเศษมีดังนี้
เรื่องชนิดของคำ (ปัญหาเกิดจากการที่ภาษาหนึ่งมีชนิดของคำบางประเภทแต่อีกภาษาหนึ่งไม่มี ซึ่งภาษาอังกฤษมีตัวกำหนด (determiner), นาม (noun),  กริยา (verb),  คุณศัพท์ (adjective),  วิเศษ (adverb),  บุพบท (preposition) ,  และสันธาน (conjunction), ไม่มีลักษณะนาม (classifier) และ คำลงท้าย (final particle)
ภาษาไทยมีชนิดของคำทุกประเภทเหมือนภาษาอังกฤษ ยกเว้นคุณศัพท์ และมีชนิดที่ไม่มีในภาษาอังกฤษ ได้แก่ ลักษณะนาม และคำลงท้าย


เรื่องประเภททางไวยากรณ์
สำหรับคำนาม ภาษาไทยไม่มีการบ่งชี้ บุรุษ พจน์ การก นับได้-นับไม่ได้ ชี้เฉพาะ แต่ภาษาอังกฤษมีการบ่งชี้ที่ชัดเจน
-บุรุษ
ภาษาอังกฤษแยกรูปสรรพนามตามบุรุษที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 อย่างเด่นชัด เช่น I (บุรุษที่ 1)    , you (บุรุษที่ 2) , he/she (บุรุษที่3) นอกจากนี้ ภาษาอังกฤษยังมีการเติม –s ที่กริยาของประธานที่เป็นบุรุษที่ 3 เอกพจน์ แต่ในบุรุษอื่นไม่มีการเติม สำหรับภาษาไทยไม่มีการแสดงความต่างเช่นนี้
-พจน์
เป็นประเภททางไวยากรณ์ที่บ่งบอกจำนวน ว่าเป็นจำนวนเพียงหนึ่ง หรือจำนวนมากกว่าหนึ่ง
เช่น
Cats are beautiful animals.
แมวเป็นสัตว์สวยงาม (การแปลที่ถูกต้อง)
แมวทั้งหลายเป็นสัตว์สวยงามหลายตัว (ในภาษาไทย ถือว่า ไม่เป็นธรรมชาติของภาษาไทย)
-การก
การก คือ ประเภททางไวยากรณ์ของคำนามเพื่อบ่งชี้ว่าคำนามนั้นเล่นบทอะไร คือ สัมพันธ์กับอื่นในประโยคอย่างไร เช่น เป็นประธาน กรรม สถานที่ เป็นต้น
ในภาษาอังกฤษ การกของคำนามมักแสดงโดยการเรียงคำ เช่น ถ้าพูดว่า The dog bit the boy. จะต่างกับพูดว่า The boy bit the dog. ในประโยคแรก dog เป็นประธานหรือผู้กระทำ (กัดแต่ในประโยคหลัง dog เป็นกรรมหรือผู้ถูกกระทำ (กัด) แต่การกเจ้าของภาษาอังกฤษแสดงโดยการเติม ‘s  ที่หลังคำนาม เช่น the teacher’s book แปลว่า หนังสือ (ของ) ครู
ในภาษาไทยไม่มีการเติมหน่วยท้ายคำเพื่อแสดงการก  แต่ใช้การเรียงคำ เหมือนกับการกประธานและการกกรรมในภาษาอังกฤษ ส่วนการกเจ้าของในภาษาไทยมีการเรียงคำต่างจากภาษาอังกฤษ เช่นเราพูดว่า หนังสือครูไม่ใช่ ครูหนังสือเหมือนในภาษาอังกฤษ
 -นามนับได้ กับนามนับไม่ได้ (Countable and uncountable nouns)
ในภาษาอังกฤษมีการแบ่งเป็น นามนับได้ กับนับไม่ได้ นามนับได้ เช่น cat, house, book ส่วนนามนับไม่ได้ เช่น water, sugar ,hair เป็นต้น ซึ่งในภาษาไทย คำนามทุกคำนับได้ เช่น แมว 1 ตัว , ผม 1 เส้นน้ำ 5 หยด
-ความชี้เฉพาะ
ในภาษาอังกฤษมีการแยกความแตกต่างระหว่าง นามชี้เฉพาะกับนามไม่ชี้เฉพาะ เช่น 
He saw a dog… Then the dog chased him.  เขาเห็นสุนัข (ตัวหนึ่ง)…แล้วเจ้าสุนัข (ตัวนั้น) ก็วิ่งไล่เขา   (ตามปรกติภาษาไทยไม่มีการระบุคำว่า ตัวหนึ่งหรือ ตัวนั้นยกเว้นต้องการเน้นหรือแปลให้เหมือต้นฉบับภาษาอังกฤษ)


คำกริยา
ประเภททางไวยากรณ์ต่างๆเข้ามาเกี่ยวข้องหลายประเภท เช่น กาล (tense) การณ์ลักษณะ (aspect) มาลา (mood) วาจก (voice) และการแยกความแตกต่างระหว่างกริยาแท้กับกริยาไม่แท้ (finite vs. non finite)
-กาล (tense)
ประโยคทั้ง 2 ประโยคต่อไปนี้จึงต่างกันที่กาล
1.Mary likes him.   ( likes แสดงปัจจุบันกาล)
              2.Mary liked him.   ( liked แสดงอดีตกาล)
-การณ์ลักษณะ (aspect)
ในภาษาอังกฤษ การณ์ลักษณะที่สำคัญได้แก่ การณ์ลักษณะต่อเนื่อง หรือการณ์ลักษณะดำเนินอยู่ ซึ่งการณ์ลักษณะในภาษาอังกฤษจะผูกติดกับกาลเสมอ เช่น He has been unhappy for the last three days and he still looks miserable. เป็นต้น
-มาลา (mood)
ใช้กับคำกริยา มีหน้าที่แสดงว่าผู้พูดมีทัศนคติต่อเหตุการณ์หรือเรื่องที่พูดออย่างไร เช่น ประโยคสมมุติที่เป็นไปไม่ได้ ประโยคคาดคะเน หรือประโยคที่เปรียบบางสิ่งว่าเสมือนอีกสิ่ง
มาลาในภาษาอังกฤษแสดงโดยการเปลี่ยนรูปคำกริยา หรืออาจแสดงโดยคำช่วยกริยาที่เรียกว่า modal auxiliaries เช่น may, might, can, could, should เป็นต้น
-วาจก (voice)
                วาจกเป็นประเภททางไวยากรณ์ที่บ่งชี้ความสัมพันธ์ระหว่างประธานกับการกระทำที่แสดงโดยคำกริยา ว่าประธานเป็นผู้กระทำ (กรรตุวาจก) หรือประธานเป็นผู้ถูกกระทำ (กรรมวาจก)
                ในภาษาอังกฤษ ประโยคส่วนใหญ่จะมีกริยาเป็นกรรตุวาจก เช่น
A speeding truck bit a bus full of nursery children yesterday in …..
                -กริยาแท้ กับ กริยาไม่แท้ (finite vs. non-finite)
ในภาษาอังกฤษ ในหนึ่งประโยคจะมีกริยาแท้เพียงตัวเดียว ส่วนในภาษาไทยกริยาทุกตัวในประโยคไม่มีการแสดงรูปที่แตกต่างกัน


หน่วยสร้างหรือรูปประโยค
-นามวลี--- มีตัวกำหนดแบบบังคับ แต่ในภาษาไทยตัวกำหนดจะมีหรือไม่มีก็ได้
-การวางส่วนขยายในนามวลี--- มีความแตกต่างอย่างตรงกันข้ามระหว่างภาษาไทยกับภาษาอังกฤษ
-หน่วยสร้างกรรมวาจก--- ภาษาอังกฤษมีรูปแบบชัดเจน แต่ในภาษาไทยมีหลายรูปแบบ และไม่จำเป็นที่จะต้องแปลหน่วยสร้างกรรมวาจกภาษาอังกฤษเป็นกรรมวาจกภาษาไทยเสมอ
-ประโยคเน้นประธานกับประโยคเน้นเรื่อง (subject vs. topic) ---ประโยคในภาษาอังกฤษต้องมีประธานเสมอ แต่ประโยคในภาษาไทยไม่จำเป็นต้องมีประธาน และประโยคส่วนมากมักขึ้นต้นด้วยเรื่อง

-หน่วยสร้างกริยาเรียง---มีในภาษาไทยแต่ไม่มีในภาษาอังกฤษ

1 ความคิดเห็น: