วันจันทร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2558

Learning Log (การศึกษาในห้องเรียน) 1st September, 2015


Learning Log (การศึกษาในห้องเรียน)
1st September, 2015

ในการเรียนภาษาอังกฤษ ไวยากรณ์ถือว่ามีความสำคัญมาก เพราะไวยากรณ์คือหัวใจหลักของภาษาอังกฤษ ไวยากรณ์มีรายละเอียดมากมายที่ต้องศึกษา ซึ่งหลักไวยากรณ์ที่มีความสำคัญและจำเป็นที่ต้องใช้ในการเรียนภาษาอังกฤษ คือ เรื่อง Adjective Clause, Compound Sentence ,Complex Sentence และ Compound Complex Sentence เราจะพบว่า เมื่ออ่านหนังสือภาษาอังกฤษ หรือในการพูดภาษาอังกฤษไวยากรณ์เหล่านี้ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะนำมาใช้ ไม่ว่าจะเป็น เรื่องสั้น นิยาย นิทาน บทความภาษาอังกฤษต่างๆ มักใช้ประโยคที่ซับซ้อน และยุ่งยาก ผู้อ่านไม่สามารถเข้าใจ หรือฟังได้อย่างเข้าใจ ประโยคในภาษาไทยกับภาษาอังกฤษจะมีโครงสร้างที่แตกต่างกัน ฉะนั้นจำเป็นมากที่เราต้องศึกษา เรียนรู้และทำความเข้าใจ เรื่อง Tense , Adjective Clause, Compound Sentence ,complex Sentenceและ Compound Complex Sentence เพื่อสามารถฟัง พูด อ่าน เขียน และแปลได้อย่างเข้าใจยิ่งขึ้น

ดิฉันได้ทำความเข้าใจและศึกษาเรื่อง Adjective Clause คือ อนุประโยคที่ทำหน้าที่เป็นเหมือนคุณศัพท์ขยายนามหรือแสดงลักษณะของคำนามหรือคำสรรพนาม ปกติแล้ว Adjective Clause จะเชื่อมด้วยประพันธสรรพนาม โดยที่ประพันธสรรพนาม นั้นจะเชื่อมคุณานุประโยคดังกล่าวกับคำนามหรือสรรพนามที่มันขยาย  ประพันธสรรพนาม (Relative Pronouns) เหล่านั้นได้แก่ that, which, where, when, why, who, whom,whose, how, in which, of which, of whom เป็นต้น  หลักการใช้คำประพันธสรรพนาม (Relative Pronouns) Relative Pronouns เป็นสรรพนามที่ใช้เชื่อมใจความสำคัญเข้าด้วยกันโดยใช้เชื่อม
Adjective Clause (คุณานุประโยค) ที่ทำหน้าที่เป็นคุณศัพท์ขยายคำนามหรือคำสรรพนาม
ที่วางอยู่ข้างหน้าของมัน
 (1) who ใช้กับคำนามที่เป็นบุคคลหรือเกี่ยวกับคนซึ่งเป็นประธานของใจความขยาย หมายความว่า who ใช้เชื่อมคำนามหรือคำสรรพนาม ที่เป็นบุคคลกับอนุประโยคที่ใช้ขยายหรือ
แสดงลักษณะของนาม หรือสรรพนามตัวนั้น เช่น
1. The manager will employ the application  who are bilingual.  ผู้จัดการจะจ้างผู้สมัครที่พูดได้สองภาษา
2. He is the man who can play football very well.  เขาคือผู้ชายที่สามารถเล่นฟุตบอลได้เก่งมาก
3. Person who want to apply this post must have computer knowledge.คนที่ต้องการจะสมัคตำแหน่งนี้จะต้องมีความรู้ด้านคอมพิวเตอร์
4. Senee who speaks English very well has gone to English. สุนีย์ผู้ซึ่งพูดภาษาอังกฤษเก่งมากได้ไปประเทศอังกฤษแล้ว
(2) whom ใชักับคำนามที่เป็นบุคคลหรือเกี่ยวกับคนซึ่งเป็นกรรมของใจความขยาย  หมายความว่า whom ใช้เชื่อมคำนามหรือคำสรรพนามที่เป็นบุคคลซึ่งเป็นกรรมของอนุประโยคที่มันขยาย (เป็นกรรมของกริยาของอนุประโยคที่มันขยาย) เช่น
1. I saw some on whom you know. ผม เห็นใครบางคนที่คุณรู้จัก
2. She is a good girl whom he wants to marry. เธอเป็นผู้หญิงที่ดีที่เขาต้องการแต่งงานด้วย
3. The man (whom) she will marry owns this piece of land.               ผู้ชายที่เธอจะแต่งงานด้วยเป็นเจ้าของที่ดินผืนนี้
4. The student  (whom) I admire won a scholarship to study abroad.               นักเรียนที่ผมยกย่องชมเชยคนนั้นได้รับทุนไปเรียนต่อต่างประเทศ
                (3) whose ใช้แสดงความเป็นเจ้าของของบุคคล หมายความว่า whose ใช้เชื่อมคำนามหรือคำสรรพนามที่เป็นบุคคลซึ่งวางอยู่ข้างหน้าของมันเพื่อแสดงความเป็นเจ้าของแทนคำนามหรือคำสรรพนามที่มันขยาย เช่น
1. This is the woman whose husband is a teacher. นี่คือผู้หญิงที่สามีของเธอเป็นอาจารย์
2. I know a film star whose father is my friend. ฉันรู้จักกับดาราภาพยนตร์คนหนึ่งซึ่งคุณพ่อของเขา เป็นเพื่อนของฉัน
3. The boy whose father is in prison is very intelligent. เด็กชายที่พ่อเขาติดคุกนั้นเรียนเก่งมาก
4. The man whose house was burgled won the first prize of lottery. ผู้ชายที่บ้านของเขาถูกขโมยถูก
ล็อตเตอรี่รางวัลที่ 1
                (4)  which ใช้กับคำนามหรือคำสรรพนาม ที่เป็นสิ่งของ สัตว์ ซึ่งหากเป็นกรรม
ของใจความขยาย ก็สามารถละทิ้งได้
เช่น
1. This is the house which, belong to my sister. นี้คือบ้านที่เป็นของพี่สาวของผม
2. This is the car (which) my father bought for 500,000 baht. นี้คือรถยนต์คันที่คุณพ่อของผม ซื้อมาในราคาห้าแสนบาท
3. The basket which is on the table is full of   rambutans.  ตะกร้าใบนี้ที่อยู่บนโต๊ะนั้นบรรจุเงาะเต็มเลย
4. The shirt (which) I bought yesterday is too small. เสื้อตัวนี้ที่ผมซื้อเมื่อวานมันตัวเล็กเกินไป
5. The snake which cleft into a hole is called "cobra" งูตัวที่เลื้อยเข้าไปในรู เราเรียกว่า "งูเห่า"
 (5)  where ใช้กับคำนามประเภท สถานที่ ซึ่งถ้าหากเป็นกรรมของใจความขยาย
ก็สามารถละทิ้งได้
 เช่น
1.That is the house (where) she lives. นั่นคือบ้านที่เธออาศัยอยู่
2. This is the place where is mortgaged. นี่คือสถานที่ที่ถูกจำนอง
3. The high building (where) he works had a good security system. ตึกที่สูงๆที่เขาทำงานอยู่มีระบบรักษาความปลอดภัยที่ดี
 (6) when ใช้กับคำนามที่บอกเวลา เพื่อขยายที่อยู่ข้างหน้าของมัน เช่น
1. I can't remember the year when I first met her. ผมจำปีที่ผมพบเธอครั้งแรกไม่ได้
2. She does not know the time when her friend leaves for Canada tomorrow. เธอไม่รู้เวลาที่เพื่อนของเธอจะออกเดินทางไปประเทศแคนาดาวันพรุ่งนี้
3. The time when she gets up every day is changed when she lives in Canada. เวลาที่เธอตื่นนอนทุกวันเปลี่ยนไปเมื่อเธออยู่ประเทศแคนาดา
(7)  why ใช้ขยายคำนามที่มีความหมายถึงสาเหตุ เหตุผล คำอธิบาย
ซึ่งวางอยู่ข้างหน้าของมัน
เช่น
1. I would like to know the reason why you are always late.               ผมอยากทราบเหตุผลว่าทำไมคุณ
ถึงมาสายประจำ
2. Everyone is waiting for your explanation why you missed the whole classes last week. ทุกคนกำลังรอคำอธิบายจากคุณที่คุณขาดเรียนไปทั้งอาทิตย์
3. The police want to know the cause why the house was burned.ตำรวจต้องการทราบสาเหตุที่บ้านหลังนั้นถูกเผา
(8) that ใช้กับคำนามที่เป็นบุคคล สัตว์ สิ่งของ สถานที่ กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ
สามารถใช้แทน who, whom, where, which
 ก็ได้ เช่น
1. The robbers that robbed the bank last week are arrested. คนร้ายที่ปล้นธนาคารเมื่อสัปดาห์ที่แล้วถูกจับได้แล้ว
2. The pants (that) you are wearing are very expensive. กางเกงขายาวตัวที่คุณกำลังสวมอยู่นั้นราคาแพงมาก
3. The month that people send their love cards and red roses is February.เดือนที่คนส่งการ์ดความรักและกุหลาบแดงคือเดือนกุมภาพันธ์
4. The bird that is singing belongs to me. นกตัวที่กำลังร้องเพลงอยู่นั่นเป็นของผมเอง
5. It is the place that I want to visit most. มันคือสถานที่ที่ผมต้องการไปเที่ยวมากที่สุด
การใช้ that ในลักษณะพิเศษหรือนอกเหนือจากกฎทั่วไป
1. ใช้กับสรรพนามที่ไม่ชี้เฉพาะหรือไม่เจาะจง (Indefinite Pronouns )
ซึ่งได้แก่ everyone, everybody, everything, someone, somebody, something, anybody, anything,  nobody, nothing เช่น
1. Everyone that once sees Arpassara will be charmed by her beauty. ทุกคนที่ได้พบอาภัสราเพียงครั้งเดียวก็จะหลงเสน่ห์ความสวยของเธอ
2. No one that loves me as much as my parents. ไม่มีใครรักผมเท่ากับพ่อแม่ของฉันเลย
3. Everything that you have seen in my house is precious. ทุกสิ่งที่คุณได้เห็นในบ้านของฉันล้วนมีค่าทั้งนั้น
                2. นิยมใช้กับนามวลีที่มีโครงสร้างการเปรียบเทียบขั้นสูงสุด
และคุณศัพท์แสดงลำดับที่ เช่น
1. Suda is the most beautiful film star that I have seen. สุดดาเป็นดาราภาพยนตร์ที่สวยที่สุด
ที่ผมเคยเห็นมา
2. He is the best man that I have known.เขาเป็นคนที่ดีที่สุดเท่าที่ผมได้รู้จักมา
3. Preecha was the second student that reached the school yesterday. ปรีชาเป็นนักเรียนคนที่สองที่มาถึงโรงเรียนเมื่อวานนี้
4. She was the second employee that was dismissed. เธอเป็นพนักงานคนที่สองที่โดนไล่ออก
                การใช้เครื่องหมายวรรคตอนในประโยค Adjective Clause (Punctuation of Adjective Clause)
  1. อย่าใส่ความน่าหรือเครื่องหมายจุลภาค ถ้า Adjective Clause นั้นจำเป็นต้องไปขยายนาม
ตัวนั้นๆโดยตรง คือจำเป็นต้องขยายนามอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
   2. ให้ใส่คอมม่าหรือเครื่องหมายจุลภาค ถ้า Adjective Clause นั้นให้ข้อมูลเพิ่มเติม แต่จำเป็นต้อง
ไปขยายนาม คือจะละ Adjective Clause ก็เข้าใจได้


ตัวอย่างเช่น
1. The man who teaches English literature is my brother.ผู้ชายที่สอนวรรณคดีอังกฤษคนนั้นเป็นพี่ชายผมเอง
2. Mr.Prawit, who teaches English literature is my brother. นาย (อาจารย์) ประวิทย์ที่สอนวรรณคดีอังกฤษคนนั้นเป็นพี่ชายของผม
3. Lampang, which consists of ten districts, is in the north of Thailand. ลำปาง ซึ่งประกอบไปด้วย 10 อำเภออยู่ทางทิศเหนือของประเทศไทย
4. The man who (m) I met yesterday teaches English. ผู้ขายที่ฉันเห็นเมื่อวานสอนภาษาอังกฤษ
5. Mr.Suchart, whom I met yesterday, teaches English คุณสุชาติที่ฉันเห็นเมื่อวานสอนภาษาอังกฤษ

หมายเหตุ  เราจะไม่ใส่คอมม่ากับประพันธสรรพนาม that และ คอมม่า ( comma ) มักจะใช้กับภาษาเขียนมากกว่า
การละคำนำหน้าใน Adjective Clauses
 คำนำหน้า/คำเชื่อม  who, whom, which, that   ใน adjective clause สามารถละได้ในกรณีต่อไปนี้
1. เมื่อทำหน้าที่เป็น direct object ใน defining clause เช่น The dress (which) I like is now on sale.
2. which ทำหน้าที่ เป็นกรรมของกริยา like ใน adjective clause ที่มา ขยายคำนาม the dress ใน main clause คือ The dress is now on sale. ประโยคนี้หมายความว่า ชุด(ที่)ฉันชอบตอนนี้อยู่ในช่วงลดราคา
เช่น  The person ( that) we admire most is General Pathompong. 
3. that ทำหน้าที่เป็นกรรมของกริยา admire most ใน adjective clause ที่มาขยายคำนาม the person ใน main clause คือ The person is General Pathompong. ประโยคนี้หมายความว่า บุคคล(ที่)ฉันชื่นชมมากที่สุด คือ พลเอกปฐมพงษ
4. เมื่อทำหน้าที่เป็น object of a preposition ใน defining clause เช่น The person with whom I talked about my study problem is a new director of the school. 
5. whom ทำหน้าที่ เป็นกรรมของบุพบท with ใน adjective clause ที่มาขยายคำนาม the person ใน main clause คือ The person is a new director of the school. ประโยคนี้หมายความว่า บุคคล(ที่)ฉันคุยเรื่องปัญหาการเรียนด้วย คือ ผู้อำนวยการโรงเรียนคนใหม่ จึงละคำ whom ได้ โดยเมื่อละ whom แล้ว บุพบท with ต้องอยู่ท้าย adjective clause นั้น ดังนี้  The person (whom) I talked about my study problem with is a new director of the school.
 การลดรูป adjective clause คำนำหน้า “who”, “which” และ “that” ที่ทำหน้าที่เป็นประธานของ adjective clause สามารถลดรูปเป็นกลุ่มคำต่าง ๆ ได้ โดยเมื่อลดรูปแล้วจะกลายเป็นกลุ่มคำนาม  ดังนี้  Appositive Noun PhrasePrepositional PhraseInfinitive Phrase and Participial Phrase
 1. Appositive Noun Phrase     adjective clause ซึ่งมี who, which และ that เป็นประธาน สามารถลดรูปได้  หากหลัง who, which และ that มี BE และให้ตัด BE ออกด้วย เมื่อลดรูปแล้ว จะเป็นกลุ่มคำนามที่เรียกว่า appositive ดังนี้
ประโยคที่ใช้ adjective clause
วิธีการลดรูปเป็น appositive noun phrase 
Prof. Chakarin, who is my thesis adviser, will retire next year.
Prof. Chakarin, who is my thesis adviser, will retire next year.

Prof. Chakarin, my thesis adviser, will retire next year.
His novel, which is entitled Behind the Picture, is very popular.
His novel, which is entitled Behind the Picture, is very popular.

His novel, Behind the Picture, is very popular.

2 Prepositional Phrase     adjective clause ที่มี who, which และ that เป็นประธาน สามารถลดรูปได้ หากหลัง who,which และ that มีคำกริยาและบุพบท ที่ถ้าตัดคำกริยาแล้วเหลือแต่บุพบท ยังมีความหมายเหมือนเดิมให้ตัดคำกริยาออกได้ เมื่อลดรูปแล้ว เป็นกลุ่มคำนามที่เรียกว่า prepositional phrase ดังนี้
ประโยคที่ใช้ adjective clause
วิธีการลดรูปเป็น appositive noun phrase
The lady who is dressed in the national costume is a beauty queen.
The lady who is dressed in the national costume is a beauty queen.  
The lady in the national costume is a beauty queen.
ในที่นี้ dressed in the national costume มีความหมายเหมือน in the national costume
The football player who came from Brazil received a warm welcome from his fans in Thailand.
The football player who came from Brazil received a warm welcome from his fans in Thailand.
The football player from Brazil received a warm welcome from his fans in Thailand.
ในที่นี้ came from Brazil มีความหมายเหมือน from Brazil
3 Infinitive Phrase       adjective clause ที่มี who, which และ that สามารถลดรูปได้ หากข้างหลังมีกริยาในรูป BE + infinitive with to เมื่อลดรูปแล้ว เป็นกลุ่มคำนามที่เรียกว่า infinitive phrase ดังนี้
ประโยคที่ใช้ adjective clause
วิธีการลดรูปเป็น appositive noun phrase
He is the first person who is to be blamed for the violence yesterday.
He is the first person who is to be blamed for the violence yesterday.

He is the first person to be blamed for the violence yesterday.
The researcher did not provide the specific statistics that can be used to test the hypothesis.
The researcher did not provide the specific statistics that can be used to test the hypothesis.
The researcher did not provide the specific statistics used to test the hypothesis.

The researcher did not provide the specific statistics to test the hypothesis.

                4 Participial Phrase
 1) Present Participial Phrase adjective clause ซึ่งมี who เป็นประธาน สามารถลดรูปได้ หากหลัง who มีกริยาแท้ ลดรูปโดยตัด who และเปลี่ยนกริยาหลัง who เป็น present participle (V-ing)
ประโยคที่ใช้ adjective clause
วิธีการลดรูปเป็น appositive noun phrase 
The school students who visited the national museum were very excited.
The school students who visited the national museum were very excited.

The school students visiting the national museum were very excited.
The two robbers who had escaped to Cambodia were arrested a week ago.
The two robbers who had escaped to Cambodia were arrested a week ago.

The two robbers having escaped to Cambodia were arrested a week ago.
The earthquake victims who had been saved by the rescue team were sent to hospital immediately.

The earthquake victims who had been saved by the rescue team were sent to hospital immediately.

The earthquake victims having been saved by the rescue team were sent to hospital immediately.

                     2) Past Participial Phrase   adjective clause ซึ่งมี which และ who เป็นประธาน สามารถลดรูปได้ หากหลัง which และ   who มีกริยาในรูป passive form (BE + past participle) ลดรูปโดยตัด which/who และ BE ออก   เหลือแต่ past participle ดังนี้
ประโยคที่ใช้ adjective clause
วิธีการลดรูปเป็น appositive noun phrase
The money which was lost during the trip was returned to its owner.
The money which was lost during the trip was returned to its owner.

The money lost during the trip was returned to its owner.
His father, who was sent by his company to New Zealand, developed lung cancer.
His father, who was sent by his company to New Zealand, developed lung cancer.

His father, sent by his company to New Zealand, developed lung cancer.
อย่างไรก็ตาม ทั้ง present participial phrase และ past participial phrase สามารถ ขยายนามโดยนำมาวางไว้หน้าคำนามได้ ดังนี้
 Thailand is a country which exports rice.
Thailand is a rice-exporting country.
Passengers have to wait for trains which come late.
 Passengers have to wait for late-coming trains.

 This blouse which was made by hand is very expensive.
 This hand-made blouse is very expensive.

The chairs which were slightly damaged were sent for repair.
The slightly damage chairs were sent for repair.

Compound sentence (อเนกัตถประโยค) คือ ประโยคที่ประกอบด้วย Simple sentences 2 ประโยคมารวมกันโดยอาศัย ตัวเชื่อม เป็นแกนนำ
เช่น      Weerayut is lazy. Weeraya is diligent
          –  Weerayut is lazy, but Weeraya is diligent.
              It rained heavily last night. The yard was flooded.
          –  It rained heavily last night, so the yard was flooded.
การใช้ตัวเชื่อม
1. การใช้ Co-ordinate conjunction Co-ordinate conjunction มี 7 ตัวคือ and,   or,  nor,   but,  so,  for,  yet
1.1 and ใช้เชื่อมประโยคที่มีความหมายคล้อยตามกันหรือการเพิ่มเติมความคิด
เช่น Yotsak had an accident last week. He has not come to school for 2 weeks.
– Yotsak had an accident last week, and he has not come to school for 2 weeks.
1.2 or ใช้เชื่อมประโยคที่ให้เลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่ง
เช่น You will do these homeworks. You will be punished.
– You will do these homeworks, or you will be punished.
1.3. nor ใช้เชื่อมประโยคที่มีความหมายคล้อยตามกันและเป็นประโยคปฏิเสธ
เช่น Dad is always busy. Mom does not have much free time.
– Dad  is always busy, nor does Mom have much free time.
1. 4 but ใช้เชื่อมประโยคที่มีความหมายขัดแย้งกัน
เช่น Satit was very angry with Ratree. He listened to her patiently.
– Satit was very angry with Ratree, but he listened to her patiently.
1. 5 so ใช้เชื่อมประโยคที่เป็นเหตุเป็นผลกัน โดยที่ประโยคหน้า so จะเป็นเหตุ
เช่น Komson felt his room was too cold. He spoke to the landlord about the heater.
– Komson felt his room was too cold, so he spoke to the landlord about the heater.
1.6 for ใช้เชื่อมประโยคที่เป็นเหตุเป็นผลกัน โดยที่ประโยคหน้า for จะเป็นผล
เช่น Sangduen has not come to school for a month. She has problems in her life.
– Sangduen has not come to school for a month, for she has problems in her life.
1.7 yet ใช้เชื่อมประโยคที่มีความหมายขัดแย้งกันเหมือน but
เช่น Krissana studied hard in summer.He failed the exam.
– Krissana studied hard in summer,yet he failed the exam.
2. การใช้ Correlative conjunction     Correlative conjunction คือตัวเชื่อมที่เป็นคู่
ได้แก่ Either…or, Neither…nor ,  Not only…but also , Both…and
2. 1 Either…or ใช้เชื่อมประโยคที่ให้เลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่งเหมือน or 
เช่น You will do these homeworks. You will be punished.
– You will do these homeworks, or you will be punished.
– Either you will do these homeworks or you will be punished.
2. 2 Neither…nor ใช้เชื่อมประโยคที่มีความหมายคล้อยตามกันและเป็นประโยคปฏิเสธทั้ง 2 ประโยค เช่น Rungsiam did not greet Taddao. He did not look at her.
– Rungsiam did not greet Taddao, nor did he look at her.
– Neither did Rungsiam did greet Taddao nor did he look at her.
2.3 Not only…but also ใช้เชื่อมประโยคที่มีความหมายคล้อยตามกันเหมือน and
เช่น Titawadee dislikes meat. She cannot stand the sight of it.
– Titawadee dislikes meat, and she cannot stand the sight of it.
– Not only does Titawadee dislike meat but also she cannot stand the sight of it.
Teeradech cooked for his sick wife. He did the laundry himself.
– Teeradech cooked for his sick wife, and he did the laundry himself.
– Not only did Teeradech cook for his sick wife but also he did the laundry himself.
2.4 Both…and ใช้เชื่อมคำที่มีความหมายคล้อยตามกันเหมือน and
เช่น Watcharaporn is a lazy student. Mahidon is a lazy student.
– Watcharaporn is a lazy student, and Mahidon is a lazy student.
– Both Watcharaporn and Mahidon is a lazy student.
 3. การใช้ Conjunctive adverb
3.1 moreover, besides, furthermore ใช้เชื่อมประโยคที่มีความหมายคล้อยตามกันเหมือน and เช่น Tipssukon refused to go to his party. She did not answer his phone call.
– Tipssukon refused to go to his party, and she did not answer his phone call.
( co-ordinate conjunction )
– Tipssukon refused to go to his party, nor did she answer his phone call.
( co-ordinate conjunction )
– Not only did Tipssukon refuse to go to his party but also she did not answer his phone call. ( correlative conjunction )
– Tipssukon refused to go to his party; moreover, she did not answer his phone call.
( conjunctive adverb )
3.2 otherwise ใช้เชื่อมประโยคที่ให้เลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่งเหมือน or
เช่น You have to get up early. You will miss the train.
– You have to get up early, or you will miss the train. ( co-ordinate conjunction )
– Either you have to get up early or you will miss the train. ( correlative conjunction )
– You have to get up early; otherwise , you will miss the train. (conjunctive adverb )
3.3 however, still, nevertheless ใช้เชื่อมประโยคที่มีความหมายขัดแย้งกันเหมือน but, yet
เช่น There was no newss from her son. She went on hoping.
– There was no newss from her son, but she went on hoping.
 ( co-ordinate conjunction )
– There was no newss from her son; however , she went on hoping.
( conjunctive adverb )
3.4 thus , therefore , consequently , hence , accordingly ใช้เชื่อมประโยคที่เป็นเหตุเป็นผลกัน เหมือน so
เช่น It is difficult to get meat in a village I live. I become a vegetarian.
– It is difficult to get meat in a village I live, so I become a vegetarian.
( co-ordinate conjunction )
– It is difficult to get meat in a village I live; therefore , I become a vegetarian.  (conjunctive adverb)
Complex Sentence คือ ประโยคความซ้อน ซึ่งประกอบด้วยประโยคหลัก 1 ประโยค และประโยครองหรืออนุประโยคอีกอย่างน้อย 1 ประโยค  ประโยคหลัก (main clause หรือ independent clause) คือ ประโยคอิสระที่มีเนื้อความสมบูรณ์ในตัวเอง มีประธานและ ส่วนขยายเป็นของตัวเองไม่ขึ้นตรงต่อ ประโยคอื่น  ประโยครอง (subordinate clause หรือ dependent clause) คือ ประโยคที่อาศัย ประโยคหลักอยู่ ไม่สามารถอยู่ตามลำพังได้ เพราะเนื้อหาของประโยครองเป็นเนื้อหา ที่ใช้ขยายหรืออธิบายประโยคหลัก จะทำหน้าที่ เป็นกรรม, ส่วนขยาย หรือ กริยาเป็นต้น จึงต้องมาในประโยคที่มีประโยคหลักอยู่ด้วย
        ประโยค complex sentence มีการใช้ตัวเชื่อมระหว่างประโยค main clause กับ subordinate clause ดังนี้
1. Subordinate Conjunction ได้แก่
 if
as if 
since 
because 
that 
whether 
lest 
as 
before 
after 
white
till 
until 
though 
although 
unless 
so that 
than 
provided 
in order that 
provided that
notwithstanding



2. Relative Pronoun ได้แก่
 who
whom 
whose
which 
that 
as 
but
what 
of which 

3. Relative Adverb ได้แก่  
 when
 why
 where

การสร้างประโยค Complex Sentence
Complex Sentence ต้องมีประโยคหลัก 1 ประโยค และมีประโยครองอย่างน้อย 1 ประโยค ซึ่งประโยครองสามารถเป็น   noun clause     adjective clause and adverb clause
ตัวอย่างประโยค Complex Sentence  
 My boss told me that I would be punished.
จากประโยค complex sentence ข้างต้น มีประโยค main clause 1 ประโยค และประโยค subordinate clause 1 ประโยค ดังนี้
My boss told me เป็น main clause
that I would be punished เป็น subordinate clause ที่เป็นnoun clause ทำหน้าที่เป็นกรรมของกริยา told
Complex Sentence อาจจะมี subordinate clause มากกว่า1ประโยคก็ได้ ดังเช่น ประโยคตัวอย่างต่อไปนี้
When I get there I found that he had gone.
จากประโยค complex sentence ข้างต้น มีประโยค main clause 1 ประโยค และ ประโยค subordinate clause อีก 2 ประโยค ดังนี้
I found เป็น main clause
When I get there เป็น subordinate clause ที่เป็น adverb clause ขยายกริยา found ของประโยคหลัก
that he had gone เป็น subordinate clause ที่เป็น noun clause ทำหน้าที่เป็นกรรมของ กริยา found ในประโยคหลัก
    Compound Complex Sentence คือประโยคที่ประกอบกับขึ้นระหว่าง Compound Sentence
กับประโยค Complex Sentence ธรรมดาๆ ดังนั้น Compound Complex Sentence จึงประกอบด้วย
ประโยคหลัก (Main Clause) ตั้งแต่ 2 ประโยคขึ้นไปและประโยครองหรืออนุประโยค
(Subordinate Clause) อย่างน้อย 1 ประโยค
ตัวอย่าง เช่น
While Somsak   played the guitar, the boys sang and the girl danced.
ขณะที่สมศักดิ์เล่นกีตาร์ เด็กผู้ชายก็ได้ร้องเพลงและเด็กผุ้หญิงก็ได้เต้นรำ
Main clause หรือ Principal Clause อยู่ 2 ประโยค คือ
และมีประโยครองหรืออนุประโยค (Subordinate Clause) อยู่ 1 ประโยค คือ
While  Somsak played guitar. ขณะที่สมศักดิ์เล่นกีตาร์
I knew that he was ill, but I did not know that the suffered from cancel.
ผมทราบว่าเขาไม่สบายแต่ผมไม่ทราบว่าเขาได้รับความทรมานจากโรคมะเร็ง สำหรับประโยคที่ 2 นี้ก็มีประโยคใหญ่หรือประโยคหลัก (Main Clause) อยู่  2 ประโยค คือ
1. I knew ผมทราบ             3.that he was ill  ว่าเขาไม่สบาย
2.  but I did not know   แต่ผมไม่ทราบ        4.   that he suffered from cancel   เขาได้ทุกข์ทรมานจากมะเร็ง

การจำแนกส่วนต่าง ๆ ของประโยค ตามลักษณะหน้าที่ หากจะพิจารณาโครงสร้างของประโยคตามหน้าที่ (function) ของคำประเภทต่าง ๆ ว่าทำหน้าที่อะไรในประโยคแล้ว โครงสร้างของประโยคจะประกอบด้วยส่วนที่สำคัญที่สุด 3 ส่วนคือ ประธาน (Subject), กริยา (Verb) และส่วนเติมให้สมบูรณ์ (Complement) ส่วนขยาย (modifiers) เช่น (adjectives, adverbs) และคำเชื่อม (connectives) เช่น prepositions, conjunctions, และอื่นๆ มีหน้าที่ช่วยเพิ่มเติมสนับสนุนที่สำคัญที่สุด โดยที่ modifiers มีหน้าที่ช่วยให้มีความหมายมากขึ้น หรือชัดเจนยิ่งขึ้น และ connectives มีหน้าที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างส่วนต่าง ๆ ของประโยค เพื่อให้ประโยคเหล่านั้นมีความต่อเนื่องราบรื่นไม่สะดุด
 เมื่อได้ศึกษา และเรียนรู้หลักไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ Adjective Clause, Compound Sentence ,complex Sentenceและ Compound Complex Sentence ซึ่งเป็นไวยากรณ์ที่มีความสำคัญ เนื่องด้วย ในบทความ เรื่องสั้น นวนิยาย นิทาน หรือแม้แต่การสื่อสารในชีวิตประจำวัน มีความเกี่ยวข้องกับไวยากรณ์เรื่องดังกล่าว ผู้เรียนจำเป็นอย่างยิ่งที่จะศึกษา  จากการที่ได้ศึกษาทำให้ทราบว่า เรื่องดังกล่าวมีเนื้อหาที่ค่อนข้างยากมีความซับซ้อน เนื่องด้วยโครงสร้างของภาษาไทยกับภาษาอังกฤษจะแตกตางกัน แต่เมื่อพยายามทำความเข้าใจ พบว่า เรื่องดังกล่าวไม่ยากอย่างที่คิด เพียงแค่เราเปิดใจ เรียนรู้อย่างช้าๆ พร้อมกับทำความเข้าใจ เราสามารถเข้าใจเรื่องดังกล่าว พร้อมทำแบบฝึกหัดเพื่อทดสอบความเข้าใจของเรามีมากน้อยแคไหน  สามารถนำความรู้นี้มาใช้ได้จริง และสามารถฟัง พูด อ่าน เขียน และแปล ได้เข้าใจมากขึ้นกว่าเดิม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น